วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555




ยินดีต้อนรับ
การปลูกกระท้อน

       กระท้อน เป็นไม้ยืนต้นมีความสูงประมาณ  15 - 30 เซนติเมตร ใบมีใบย่อย 3 ใบ รูปรีแกมไข่ เมื่อใบแก่จะมีสีส้มแดง ดอก มีลักษณะเป็ช่อที่ซอกใบ บริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก 


การเตรียมหลุมปลูก 
ควรจะขุดหลุมให้มีขนาดไม่ต่ำกว่า 50 x 50 x 50 เมตร (กว้าง x ยาว x ลึก) หลุมถ้ามีขนาดใหญ่ยิ่งดี จะช่วยให้ต้นกระท้อนโตเร็วมากยิ่งขึ้น ผสมดินที่ขุดขึ้นมากับปุ๋ยคอกเก่า ๆ (ประมาณ 10 กก. ต่อหลุม) รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อหลุม กลบดินผสมลงในหลุมให้พูนขึ้นกว่าระดับปากหลุมเล็กน้อย วางต้นกระท้อนที่เตรียมไว้ (เอาถุงที่ชำออกก่อน) ปลูกลงกลางหลุมกดดินให้แน่น ใช้ไม้หลักป้ายยึดลำต้นกันลมพัดโยก รดน้ำให้ชุ่ม ถ้ามีแดดจัดควรมีการพลางแดดให้ด้วยจะทำให้ต้นกระท้อนตั้งตัวเร็วขึ้น

การขยายพันธุ์ 
กระท้อนสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่ การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง การเสียบยอด การติดตา เดิมนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เนื่องจากทำได้ง่ายแต่มักจะกลายพันธุ์ ปัจจุบันไม่นิยมปลูกต้นที่เพาะจากเมล็ด แต่จะทำการเพาะเมล็ด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการทำต้นตอในการทาบกิ่งหรือติดตาเท่านั้น ส่วนการตอนก็ไม่นิยม เช่นกันเพราะปัญหาเรื่องการออกรากยาก และเมื่อตัดมาชำมักจะตายมากด้วย

การดูแลรักษา
หลังจากปลูกแล้วจะต้องคอยดูแลรักษาต้นกระท้อนอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้ว่ากระท้อนจะเป็นไม้ผลที่ไม่ค่อยมีโรคแมลงรบกวนมากนัก แต่การบำรุงรักษาให้ดีอยู่เสมอจะช่วยให้ต้นกระท้อนเจริญเติบโตเร็วมาก การดูแลรักษาโดยทั่วไป

การให้น้ำ
ปกติกระท้อนเป็นพืชที่ชอบน้ำแต่ขณะเดียวกันก็ทนสภาพความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดีในช่วงที่กระท้อนยัง เล็กอยู่จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นการให้น้ำก็จะมีช่วงห่างขึ้น อย่างไรก็ดีในช่วงที่ต้นกระท้อน เริ่มออกช่อดอกและติดผลจะต้องให้น้ำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้
1. ช่อดอกมีความสมบูรณ์ การติดผลดี
2. ผลที่ติดแล้วมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ สวนที่มีการให้น้ำดีจะทำให้ผลมีขนาดโตกว่าสวนที่ ขาดแคลนน้ำ
3. ลดปัญหาเรื่องผลแตกได้ ซึ่งปัญหานี้จะพบเสมอในสวนที่ขาดแคลนน้ำ

การตัดแต่งกิ่ง 
การตัดแต่งกิ่งกระท้อนในแต่ละปีจะทำเพียงเล็กน้อย สำหรับต้นที่ยังไม่ให้ผลมักจะให้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ มีการตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบออกบ้าง เมื่อกระท้อนเริ่มให้ผลผลิตแล้ว การตัดแต่งจะมีมากขึ้นเล็กน้อย โดยจะทำการตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วสิ่งที่ควรพิจารณาตัดแต่งออกมี
- กิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งแห้งตาย
- กิ่งที่แน่นทึบอยู่ในทรงพุ่ม
- กิ่งนำซึ่งมักจะเจริญไปในทางด้านสูง ซึ่งจะทำให้ทรงพุ่มสูงขึ้น ควรจะทำการตัดเพื่อควบคุมทรงพุ่มให้มีการเจริญออกทางด้านกว้างมากกว่า เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา ตลอดจนการห่อผลและเก็บเกี่ยวผลผลิต

การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยต้นกระท้อนที่ยังไม่ให้ผลจะเน้นไปที่เพื่อบำรุงต้นให้มีการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านเป็นส่วนใหญ่ ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเป็นหลัก เช่น สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราที่ใส่ควรจะไม่มากนักแต่ควรใส่บ่อยครั้งจะดีกว่า เช่น 3 เดือน/ครั้ง
เมื่อต้นกระท้อนให้ผลผลิตแล้ว การใส่ปุ๋ยจะเปลี่ยนสูตรไปตามระยะเวลาของความต้องการ กล่าวคือ
1. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 เพื่อช่วยบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์เหมือนเดิม
2. ช่วงก่อนที่ต้นกระท้อนจะพักตัว ควรจะมีการใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยให้ต้นมีการเก็บสะสมอาหารเพื่อการสร้างตาดอกดีขึ้น โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 9-24-24 หรือ 12-24-12 ในเดือนตุลาคม
3. ระยะติดผลแล้ว 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
4. ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 20 วัน ควรมีการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียมสูง เช่น 13-13-21 เพื่อช่วยให้มีการปรับปรุงคุณภาพของผลให้ดีขึ้น เช่น เนื้อมีความนุ่มขึ้น รสชาติหวานขึ้น
สำหรับอัตราที่ใช้ควรพิจารณาจากขนาดของทรงพุ่ม สภาพความสมบูรณ์ของต้นและปริมาณผลผลิตในแต่ ละปี ตัวอย่างเช่น ต้นอายุ 10 ปี มีขนาดทรงพุ่มกว้างประมาณ 8 เมตร มีการให้ผลผลิตดีอย่างสม่ำเสมอ ก็ควรให้ปุ๋ย ไม่ต่ำกว่า 8 กก./ปี แบ่งใส่เป็น 4 ครั้ง (ครั้งละ 2 กก.) โดยพิจารณาใช้สูตรตามช่วงระยะเวลาที่ได้กล่าวแล้ว ส่วนปุ๋ยคอกอาจใส่ในช่วงหลังจากเก็บผลแล้วครั้งเดียวก็พอ อัตราการใส่แล้วแต่ชนิดของปุ๋ยคอกที่ใช้ สำหรับต้นอายุ 10 ปี อาจใช้ อัตราตั้งแต่ 25 - 50 กก./ต้น

การกำจัดวัชพืช 
การกำจัดวัชพืชในสวนกระท้อนถ้าเป็นสวนขนาดเล็ก อาจใช้จอบดายหญ้าก็ได้ แต่ถ้าเป็นสวนขนาดใหญ่ ควรใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายไหล่ หรืออาจจะเป็นแบบรถเข็นตัดหญ้าก็ได้จะทำให้สะดวกมากขึ้น การใช้ สารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ผลดีเช่นกัน แต่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง เพราะบางครั้งอาจทำให้เกิดความเสียหายกับ ต้นกระท้อนขึ้นได้ ในแต่ละปีจะทำการกำจัดวัชพืชประมาณ 3-4 ครั้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงฤดูฝน นับตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นต้นไป จนหมดฤดูฝนแต่ถ้ามีวัชพืชมากก็อาจจะทำการกำจัดวัชพืชในช่วงออกดอกอีกครั้ง

สภาพดินฟ้าอากาศ 
เนื่องจากกระท้อนเป็นไม้ผลเมืองร้อน จึงสามารถปลูกได้ดีแทบทุกแห่งในประเทศไทย แต่เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี ควรจะเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำให้อย่างเพียงพอ ดินที่เหมาะควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียวมีอินทรียวัตถุมาก อาจกล่าวได้ว่ากระท้อนที่ปลูกในดินร่วนหรือดินเหนียวจะทำให้คุณภาพของเนื้อและรสชาติดีกว่าที่ปลูกในดินร่วนทราย







ขอบคุณข้อมูลต้นฉบับจาก :: http://www.bspwit.ac.th/S-PROJECT/WEB-DESIGN/WEB-DESIGN%202552/Doungjai%20Khamtead/kraton.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น